ศาสนาและวัฒนธรรมเกาหลี
ศาสนาของเกาหลี
ประเทศเกาหลีให้ความเคารพต่อเสรีภาพในการนับถือศาสนาโดยมีลัทธิประเภททรงเจ้า บูชาผี ศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื้อ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักปรัชญาในการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังมีศาสนาย่อย ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่จากการผสมผสานแนวความคิดบางอย่างในศาสนาดั้งเดิม และยังมีผู้หันไปนับถือศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่เริ่มเข้ามาเผยแพร่เมื่อปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาชาวเกาหลีใต้ไม่บุคคลที่ไม่นับถือศาสนาใดๆประมาณ 46 % ศาสนาคริสต์ 26 % ศาสนาพุทธ 26 % ลัทธิขงจื้อ 1 %ศาสนาชอนโดเกียว ศาสนาอิสลาม และอื่นๆ 1 %ศิลปะ
ชนชาติเกาหลีได้ถ่ายทอดความเป็นอัจฉริยะทางศิลปะผ่านทางดนตรี นาฎศิลป์ และจิตรกรรม ซึ่งได้มีการพัฒนามาตลอดระยะเวลา 5,000 ปีของประวัติศาสตร์เกาหลี แม้ว่าศิลปะตะวันตกในรูปแบบต่าง ๆ จะแพร่หลายอยู่ในประเทศ แต่ศิลปะเกาหลีอันมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในลักษณะดั้งเดิม หรือผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย
ดนตรีประจำชาติเกาหลี
ชนชาติเกาหลีมีดนตรีที่เรียกว่า คุกอัก มีที่มาคล้ายคลึงกับดนตรีจีนและญี่ปุ่น แต่ถ้าเราสามารถสัมผัสดนตรีชนิดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง จะพบว่า ดนตรีเกาหลีมีลักษณะแตกต่างอย่างชัดเจนจากดนตรีชนิดอื่น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออก กล่าวคือ ดนตรีเกาหลีประกอบด้วยสามจังหวะในหนึ่งห้อง ในขณะที่ดนตรีจีนและญี่ปุ่นมีสองจังหวะในหนึ่งห้อง-คุกอัก แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ชองอัก หรือดนตรีในราชสำนัก และมินซกอัน หรือดนตรีพื้นบ้าน ชองอัก ซึ่งเป็นดนตรีชั้นสูง มีท่วงทำนองเชื่องช้า เยือกเย็น และซับซ้อน ส่วนมินซกอัก ได้แก่ ดนตรีของชาวนาชาวไร่ พันซอรี (ดนตรีที่เน้นการแสดงความรู้สึก) และดนตรีพิธีไสยศาสตร์ มีจังหวะที่รวดเร็วและกระฉับกระเฉง
นาฏศิลป์เกาหลี
จิตรกรรมดั้งเดิมของเกาหลี
เครื่องปั้นดินเผา
ชุดประจำชาติเกาหลีหรือชุดฮันบก
ฮันบกเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติเกาหลีมาเป็นเวลาพัน ๆ ปีมาแล้ว ความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลีจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้ก่อนที่วัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกจะได้เข้ามาในเกาหลีเมื่อร้อยปีมาแล้วนั้น หญิงชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเป็นปกติทุกวัน ส่วนสุภาพบุรุษจะสวมชอโกรี (เสื้อนอกแบบเกาหลี) และพาจิ (กางเกงขายาว) ในขณะที่สุภาพสตรีสวมชอกอรีและชีมา (กระโปรง) ในปัจจุบันชุดประจำชาติฮันบก จะใช้สวมเฉพาะในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส วันซอลลัล (วันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า)
อนดอล
ตามประเพณีของเกาหลีนั้นห้องต่าง ๆ จะใช้เพื่อจุดประสงค์หลาย ๆ อย่าง และไม่มีการใช้หรือเรียกห้องตามการใช้งานของมัน เช่น ห้องนอน หรือห้องอาหาร เป็นต้น แต่จะมีการนำโต๊ะและเสื่อเข้าไปไว้ตามห้องต่าง ๆ ตามจุดประสงค์การใช้งาน ประชาชนส่วนใหญ่จะนอนบนเสื่อหนาปูบนพื้น ใต้พื้นห้องจะมีท่อระบายอากาศที่ทำด้วยหินหรือคอนกรีตในสมัยโบราณลมร้อนจะถูกระบายผ่านช่องเพื่อให้เกิดความร้อน ดินเหนียวและปูนจะถูกนำมาวางบนหิน เพื่อป้องกันผู้อยู่อาศัยมิให้ถูกกระทบด้วยก๊าซพิษ ระบบทำความร้อนใต้พื้นนี้เรียกว่า “อนดอล” ในยุคปัจจุบันใช้ท่อน้ำร้อนให้ไหลผ่านพื้นซีเมนต์ซึ่งคลุมด้วยพรมน้ำมัน
ที่มา : https://www.iam-tour.com/country_info
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น