วัฒนธรรมในครอบครัว
ลักษณะของครอบครัวในเกาหลี
ชีวิตครอบครัวในประเทศเกาหลีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งบุคคลเข้าเมืองจากการสมรสที่มีความเข้า ใจลักษณะของครอบครัวเกาหลีนั้น จะทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับครอบครัวใหม่ และทำความเข้าใจ วัฒนธรรมของเกาหลีได้ง่ายกว่า วัฒนธรรมในแต่ละครอบครัวนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ลักษณะครอบครัวและพื้นที่ สำหรับวัฒนธรรมของเกาหลีนั้นตั้งอยู่บน พื้นฐานของลัทธิขงจื้อ ดังนั้น วัฒนธรรมในครอบครัวของเกาหลีจึงมีความคล้ายคลึงกับประเทศที่มีวัฒนธรรมของลัทธิขงจื้อนั่นเอง ทว่าก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยเฉพาะในแง่มุมของการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ความสัมพันธ์ในครอบครัว
- ครอบครัวที่มีความปรองดองกันนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถือเป็นความสุขของสมาชิกภายในครอบครัว
- สำหรับลำดับชั้นมีความสำคัญในครอบครัวนั้น เด็กควรได้รับการสั่งสอนให้เคารพผู้ใหญ่ และแสดงความคิดความเห็นด้วย ท่าทีที่สุภาพ
- ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็กเป็นสิ่งที่พิเศษ ซึ่งผู้ปกครองเกาหลีจะเน้นให้ความรักและความเข้าใจแก่เด็ก และบางครั้งอาจตามใจเด็ก จนเป็นสาเหตุให้เด็กมีนิสัยต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ
- ความสัมพันธ์ระหว่างหลานกับปู่ย่าตายายในรูปแบบ “ครอบครัวดั้งเดิม” เริ่มอ่อนแอลง แต่การแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์เริ่มดีขึ้น นั่นทำให้คุณภาพของความสัมพันธ์ดีขึ้นตามไปด้วย หน้าที่ต้องดูแลพ่อแม่ลดน้อยลง แต่หัวใจที่อยากเลี้ยงดูพ่อแม่ค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นและพ่อแม่สูงอายุที่มีใจอยากช่วยตนเองก็เริ่มมีมากขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา
- ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาเป็นสิ่งสำคัญ แต่หน้าที่ของคุณในฐานะบุตรชายหรือบุตรสาวนั้น กับผู้พ่อแม่ของ ตัวเองก็ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน
- ในอดีตการเลี้ยงดูเด็กจะเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ แนวโน้มดังกล่าวกำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยที่ผู้ชายเริ่มมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูเด็กร่วมกับผู้หญิงมากขึ้น
- เนื่องจากผู้ชายเกาหลีในสมัยก่อนถือว่าการชมเชยหรือการแสดงความรักต่อภรรยา ต่อหน้าพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นเรื่องที่น่าอาย จึงไม่ค่อยกล้าแสดงความรักต่อภรรยาสักเท่าไร
การปรับตัวเข้ากับชีวิตครอบครัว
เพื่อให้ชีวิตสมรสในเกาหลีมีความเป็นปกติสุข คุณจึงจำเป็นต้องข้ามผ่านปัญหาเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมให้ได้ โดยทั่วไปแล้ว ถือเป็นเรื่องยากที่จะปรับตัวให้เข้ากับชีวิตครอบครัวและวัฒนธรรมของเกาหลีได้ ดังนั้นหากคุณประสบปัญหาดังกล่าว ให้พิจารณาข้อแนะนำดังต่อไปนี้
พยายามทำความเข้าใจวัฒนธรรมในครอบครัวของแต่ละฝ่าย
เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของครอบครัวจากสามีและญาติฝ่ายสามี
แก้ปัญหาด้วยการสื่อสาร
ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ใช้บริการหน่วยงานให้คำปรึกษาอย่างเชี่ยวชาญคือคอลเซนเตอร์ Danuri (☎1577-1366)
หากคุณไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ระบุไว้ข้างต้นได้ คุณควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ส่งเสริมครอบครัวหลากหลายวัฒนธรรมที่อยู่ใกล้บ้าน ติดต่อคอลเซนเตอร์ Danuri (☎1577-1366)
มารยาทเกี่ยวกับภาษา
ในประเทศเกาหลี เรามักใช้คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งต่างๆ เพื่อเรียก หรือกล่าวถึงบุคคลเดียวกัน ชื่อเกาหลีและชื่อในตัวอักษรจีนผสมกันและใช้เป็นคำนำหน้าชื่อและตำแหน่ง การใช้คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งที่ผิดอาจทำให้ผู้อื่นขุ่นเคือง ดังนั้น ถ้าเราใช้คำนำหน้าชื่อและตำแหน่งอย่างไม่ถูกต้อง คนอื่นอาจถือว่าเราไม่มีมารยาท จึงต้องระวัง“คำนำหน้าชื่อ” นั้นจะใช้เมื่อเรียกเฉพาะคนบางคน และ “ตำแหน่ง” จะใช้เมื่อกล่าวถึงตัวบุคคล
คำนำหน้าชื่อและตำแหน่งของสมาชิกในครอบครัว
ในประเทศเกาหลี สมาชิกในครอบครัวจะเรียกแต่ละคนโดยใช้ชื่อพิเศษ แทนความสัมพันธ์ หากดูแผนผังครอบครัวด้านล่าง จะเห็นว่ามีชื่อที่ต่างกันในการเรียกสมาชิกในครอบครัวของสามีและภรรยา โดยจะมีการใช้ภาษาที่แสดงความเคารพผู้ที่อาวุ โส และจะใช้ภาษาธรรมดากับผู้เยาว์ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปบ้างในแต่ละครอบครัว ดังนั้นจึงควรปรึกษากันในภายครอบ ครัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย
คำนำหน้าชื่อ* และการเรียกสมาชิกของครอบครัวสามีสำหรับภรรยา
- คู่มือการใช้ชีวิตในประเทศเกาหลี
คำนำหน้าชื่อ* และเรียก* สมาชิกของครอบครัวภรรยาสำหรับสามี
- คู่มือการใช้ชีวิตในประเทศเกาหลี
คำนำหน้าชื่อ
- ตำแหน่ง
- ใช้เพื่ออ้างถึงเฉพาะบางคนOO → ชื่อของลูกชายและลูกสาว, O → นามสกุล แล้วตามด้วยคำว่า ชี่
การแสดงความเคารพและการแสดงออกที่ไม่เป็นทางการ
ในประเทศเกาหลี มีความแตกต่างเล็กน้อยของลักษณะของภาษา โดยขึ้นอยู่กับอายุ ความสัมพันธ์ และสถานะทางสังคม ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้อาจอธิบายได้อย่างกว้างๆ ว่าเป็นรูปแบบการพูดในสองรูปแบบด้วย นั่นก็คือ การพูดด้วยความเคารพ และการพูดแบบไม่เป็นทางการ
- ระดับการแสดงความเคารพนั้น จะใช้กับผู้สูงอายุ และเป็นภาษาที่เป็นทางการน้อยกว่า
- คนเกาหลีจะพูดในระดับที่ไม่เป็นทางการ เมื่อพูดกับเพื่อนๆ หรือกับคนที่มีอายุน้อยกว่า
วันสำคัญในการฉลองกับครอบครัว
ภายในชีวิตครอบครัวนั้นอาจจะมีหลายเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นได้ เช่น การเกิด การแต่งงาน หรือการ เสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญทั้งในระดับบุคคลและระดับ ครอบครัว ดังนั้นคุณจึงควรใช้เวลากับสมาชิกในครอบครัวในโอกาสดังกล่าว
การเกิด
- เบคอิล (ครบร้อยวัน) : ในประเทศเกาหลี วันที่ครบหนึ่งร้อยวันนับจากวันที่เด็กเกิดนั้น จะเป็นวันที่มีการ ฉลองครั้ง ใหญ่ ซึ่งอาหารทั่วไปที่เลี้ยงฉลองกันในวันนี้จะได้แก่ เค้กข้าวนึ่ง เค้กน้ำผึ้งทำจากถั่วแดง และซุปสาหร่าย เป็นต้น โดยเด็กๆ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่เพื่อฉลองในวันพิเศษนี้
- วันเกิดครั้งแรก : ญาติและเพื่อนสนิทจะได้รับเชิญมางานเลี้ยงฉลองวันเกิดครั้งแรกของเด็ก โดยเด็กๆ จะแต่งกายด้วยชุดเกาหลีย้อนยุค และเตรียมจัดโต๊ะพิเศษเพื่อฉลองวันเกิดครั้งแรกของเด็ก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีการ เตรียมเบคโซลกี (เค้กข้าวนึ่งสีขาว) ซงพยอน (เค้กข้าวพระจันทร์เสี้ยว) และซึซึควังดัง (เค้กน้ำผึ้งทำจากเกาเหลียง) วางเอาไว้บนโต๊ะ นอกจากนี้ยังมีผลไม้ ด้าย ข้าว เงิน ดินสอ และหนังสือเอาไว้บนโต๊ะ (ปัจจุบันนี้ บางครั้งยังวางหูฟัน ไมโครโฟน ฯลฯ เอาไว้ด้วย) แล้วให้เด็กเจ้าของวันเกิดหยิบสิ่งที่ตนเองชอบ แล้วให้คำอวยพร อย่างไรก็ตาม ในยุคหลังๆ นี้ จะมีบริการจากร้านอาหารบางแห่งที่ช่วยเตรียมโต๊ะสำหรับ ฉลองวันเกิดแทนพ่อแม่ให้ด้วย
ข้อมูลที่มีประโยชน์
- ความสำคัญของสิ่งของที่วางบนโต๊ะสำหรับการฉลองวันเกิดครั้งแรก
- ด้าย – อายุยืน
- เงินและข้าว – มั่งคั่งและอนาคตที่ดี
- ลูกฟุตบอล – อาชีพเป็นนักฟุตบอล
- ค้อนสำหรับผู้พิพากษา – อาชีพเป็นผู้พิพากษา
- ดินสอ แปรงทาสี หนังสือ – เป็นนักวิชาการ หรือเรียนดี
- หูฟัง – หมอ
- ไมโครโฟน – ผู้มีชื่อเสียง
วันเกิด : สำหรับผู้อาวุโส วันเกิดจะเรียกว่าแซงชิน (saengshin) โดยมักจะมีการทำซุปสาหร่ายเป็นอาหารเช้าในวันเกิด บาง ครั้งญาติและเพื่อนจะได้รับเชิญให้มาฉลองด้วยกัน ซึ่งแขกที่ได้รับเชิญก็มักจะเตรียมของขวัญวันเกิด หรือมอบเงินให้
การแต่งงาน
การแต่งงานมีทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ในประเทศเกาหลี แต่ในขณะนี้การแต่งงานแบบดั้งเดิมแทบจะหาย ไปหมดแล้ว โดยถูกแทนที่ด้วยการแต่งงานแบบสมัยใหม่ สำหรับการแต่งงานแบบสมัยใหม่มักจะจัดขึ้นที่ห้อง โถงจัดงานแต่งงาน โรงแรม โบสถ์ วัด ฯลฯ โดยในพิธีฉลองสมรส เจ้าบ่าวจะสวมทักซิโด้ และเจ้าสาวสวมชุดเจ้าสาว โดยหลังเสร็จพิธี ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะเปลี่ยนชุดเป็นชุดเกาหลี แล้วออกมาทำเพแบค* ให้กับพ่อแม่ของ เจ้าบ่าวและผู้อาวุโสคนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ มักจะทำเพแบคแก่ครอบครัวทั้งสองฝ่ายเลย
เพแบค (Paebaek)
พิธีดั้งเดิมที่เจ้าสาวที่เพิ่งแต่งงานแสดงความเคารพ (คำนับ) พ่อแม่ของเจ้าบ่าว และผู้อาวุโสคนอื่นๆ หลังจากการแต่งงาน
เพแบค (Paebaek)
เฮวกับและโกฮิยอน (งานเลี้ยงเพื่ออวยพรให้มีอายุยืนยาว)
- โฮกับ (Hoegap) : หมายถึงวันเกิดเมื่ออายุครบ 60 บริบูรณ์ (61 ปีตามอายุของเกาหลี) เป็นพิธีการที่ลูกเตรียม ให้พ่อแม่ เพื่อฉลองที่ท่านมีสุขภาพดีและอายุยืนยาว ในอดีตพิธีนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าคนส่วนใหญ่จะอายุไม่ยืนนัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอายุขัยเพิ่มขึ้นมากแล้ว ดังนั้นการฉลองจึงทำกันแบบง่ายๆ การประกอบด้วยอาหารจำนวนมาก หรือบางครอบครัวก็อาจจะส่งพ่อแม่ไปทัวร์ หรือให้ของขวัญเป็นเงินแทน
- โกฮิยอน (Gohiyeon) : หมายถึงวันเกิดเมื่ออายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ปี (71 ตามอายุของเกาหลี) ซึ่งญาติและเพื่อนสนิทจะ ได้รับเชิญมาในงานเลี้ยงที่จัดใหญ่กว่าทุกปี และบางคนก็จะเตรียมของขวัญวันเกิดมาด้วย
งานศพ
ครอบครัวจะสวมชุดไว้ทุกข์ และแต่งตัวให้ผู้ตาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะมีเตรียมผ้าเอาไว้ล่วงหน้าให้แก่ผู้สูงอายุขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยผ้านี้จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับบ้านและพื้นที่ และในบางกรณี จะมีการแต่งตัวให้ผู้ตายด้วยผ้า ป่านสีดำหรือสีขาว และแขกที่เข้าร่วมการมุนซัง* ควรหลีกเลี่ยงการแต่งชุดด้วยสีสว่าง โดยควรใช้สีดำหรือสีขาวเท่านั้น อีกทั้ง ควรแสดงความเคารพและสวด ร่วมกันกับครอบครัว นอกจากนี้อาจให้เงินแก่ครอบครัว ซึ่งถือเป็นการแสดงความเห็นใจอีกวิ ธีหนึ่ง
มุนซัง (munsang)
การเยี่ยมครอบครัวผู้ตายเพื่อแสดงความเสียใจ
มุนซัง (munsang)
พิธีกรรม
พิธีกรรมของเกาหลีแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ต่อกัน และถือเป็นการแสดงความรำลึกถึงบรรพบุรุษ
การจัดโต๊ะเครื่องเซ่นไหว้ในพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
สิ่งที่ควรรู้
- การจัดโต๊ะเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
- การจัดโต๊ะอาหารสำหรับเซ่นไหว้บรรพบุรุษนั้นขึ้นอยู่กับธรรมเนียมและวัฒนธรรมในแต่ละท้องที่ โดยทั่วไปจะตั้งโต๊ะเซ่นไหว้ให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านหลังจะตั้งฉากกั้น ให้ตั้งอาหารโดยเริ่มจากด้านในที่อยู่ใกล้ฉากกั้นที่สุด โดยให้ตั้งอาหารเป็น 5 แถว ต้องวางจำนวนผลไม้หรือแป้งทอดเป็นจำนวนเลขคี่
- แถวที่ 1: ป้ายชื่อบรรพบุรุษ, ต๊อกกุก หรือขนมซงเพียน, ถ้วยเหล้า
- แถวที่ 2: แป้งทอดปลา, ซันจอกย่าง ฯลฯ ออดงหยุกซอ(魚東肉西): การวางเนื้อปลาตั้งทางทิศตะวันออก, เนื้อวัวตั้งทางทิศตะวันตก
ดูดงมีซอ(頭東尾西): การวางหัวปลาหันไปทางทิศตะวันออก, หางปลาหันไปทางทิศตะวันตก - แถวที่ 3: เต้าหู หรือต้มเนื้อ ฯลฯ
- แถวที่ 4: ผัก, กิมจิ, เนื้อตากแห้ง กับข้าวและน้ำชิเข้ ชาโพอูเฮ(左脯右醯): การวางเนื้อตากแห้งไว้ด้านซ้ายสุด และด้านขวาสุดให้วางน้ำชิเข้
- แถวที่ 5: ผลไม้ต่างๆ เช่น พุทราแห้ง, เกาลัด, ขนมยากวา, สาลีหรือแอปเปิ้ล ฯลฯ โจยุลอีซี(棗栗梨枾): การวางพุทราแห้ง, เกาลัด, สาลี่, ลูกพลับแห้ง เรียงจากด้านซ้ายมาก่อน
ฮงดงเบกซอ(紅東白西): วางผลไม้สีแดงทางทิศตะวันออก และผลไม้สีขาวทางทิศตะวันตก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น